วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555


    สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์ 


                             


          บรรดาเครื่องมือ หรือในด้านการศึกษาเรียกว่าอุปกรณ์นั้น ส่วนใหญ่มักจะมีราคาแพง ทั้งตัวมันเองและอะไหล่ แต่ในแง่ของการให้ความรู้แก่นักเรียน บรรดาอุปกรณ์ทั้งหลายนับว่าได้สร้างคุณประโยชน์ไว้เป็นอันมาก เพราะอุปกรณ์บางชิ้นมีคุณค่าสูง และมีประสิทธิภาพสูง และสามารถแพร่ความรู้ได้อย่างกว้างขวาง ดึงความสนใจได้มาก ดังนั้นก่อนที่จะได้นำไปใช้จึงควรได้ศึกษาถึงข้อดีและข้อจำกัดเสียก่อนนำไปใช้ด้วย

          สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์หรือที่เรียกว่าโสตทัศนูปกรณ์ (audio –visual equipments )

                                 

          มีหน้าที่หลัก คือการฉายเนื้อหาทั้งที่เป็นภาพและตัวอักษรให้มีขนาดใหญ่ ขยายเสียงให้ดัง เพื่อให้ผู้เรียนรับรู้และเรียนรู้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ปัจจุบันอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้พัฒนาไปมากมีรูปลักษณะเล็กน้้าหนักเบา แต่สามารถใช้งานได้หลายมิติ เช่น ต่อพ่วงกับอุปกรณ์อื่นได้หลายทาง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อตอบสนองความต้องการและอ้านวยความสะดวกในการรับรู้ของมนุษย์ ดังนั้นการน้าอุปกรณ์เหล่านี้มาใช้ในกระบวนการเรียนการสอนจะช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น โดยครูผู้สอนสามารถศึกษาหลักการและวิธีการใช้ได้ไม่ยากนัก

                ประเภทของสื่ออุปกรณ์สื่ออุปกรณ์จำแนกได้เป็น 3 ประเภท 

      ได้แก่ 1. เครื่องฉาย ( Projectors )

                                 
                2. เครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณ ( Connected Equipment )

                              

                3. เครื่องเสียง ( Amplifiers )
                4. สื่ออุปกรณ์
           - เครื่องฉาย ( Projectors ) เครื่องฉายเป็นอุปกรณ์ฉายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ท้าให้ผู้เรียนมองเห็นภาพหรือเนื้อหาได้ชัดเจนจากจอรับภาพ กระตุ้นความสนใจได้ดีเครื่องฉายที่ใช้ในวงการศึกษาปัจจุบันมีหลายชนิด เช่น เครื่องฉายข้ามศีรษะ เครื่องฉายแอลซีดี เครื่องฉายสไลด์
              ตัวอย่างเครื่องฉาย เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉายแอลซีดี

                                           

            -เครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณ ( Connected Equipment ) เครื่องแปลงสัญญาณเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใช้ในการถ่ายทอดเนื้อหาจากวัสดุต่าง ๆ ได้แก่
          1. วัสดุที่บรรจุข้อมูลในรูปแบบของแม่เหล็ก เช่น แถบวีดิทัศน์
          2. วัสดุในรูปแบบของตัวอักษรหรือภาพ เช่น สิ่งพิมพ์หรือฟิลม์
          3. วัสดุในรูปแบบของการเข้ารหัสดิจิทัล เช่น แผ่นวีซีดีและแผ่นดีวีดี
               ตัวอย่างเช่น เครื่องเล่นวีซีดีจะอ่านข้อมูลที่บันทึกภาพยนตร์จากแผ่นวีซีดีซึ่งเข้ารหัสเป็นระบบดิจิทัล แล้วแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อถอดรหัสและแปลงกลับเป็นสัญญาณภาพและเสียงระบบแอนะล็อกเสนอบนจอโทรทัศน์ต่อไป
                           
                            

              เครื่องถ่ายทอดสัญญาณ เครื่องถ่ายทอดสัญญาณ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่รับสัญญาณภาพจากเครื่องแปลงสัญญาณเพื่อถ่ายทอดขยายเป็นภาพขนาดใหญ่ขึ้นบนจอภาพ ตัวอย่างเช่น โพรเจ๊กเตอร์จะรับสัญญาณจากเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อเสนอภาพขนาดใหญ่บนจอภาพ
             เครื่องแปลงและเครื่องถ่ายทอดสัญญาณที่น้ามาใช้ในการเรียนการสอนมีดงนี้ ั 1. เครื่องวิชวลไลเซอร์ (Visualizer)เป็นเครื่องแปลงสัญญาณที่เสนอได้ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว โดยต้องต่อเครื่องวิชวลไลเซอร์กับจอมอนิเตอร์เพื่อเสนอภาพ หรืออาจต่อร่วมกับเครื่องแอลซีดี เพื่อถ่ายทอดสัญญาณเป็นภาพขนาดใหญ่บนจอภาพ

                                     

               เครื่องเล่นวีซีดี (Video Compact Disc) หรือเรียกอย่างเต็มว่า “วิดีโอซีด” เป็นเครื่องเล่นแผ่นซีดีระบบ ดิจิทัลที่บันทึกข้อมูลในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์และเสียงเพื่อเสนอภาพบนจอโทรทัศน์
               แผ่นวีซีดี แผ่นวีซีดีจะมีลักษณะทางกายภาพทุกอย่างเหมือนแผ่นซีดีเพียงแต่แผ่นวีซีดีจะเป็นการเสนอภาพยนตร์พร้อมเสียงสเตอริโอแผ่นวีซีดีสามารถบันทึกภาพยนตร์จากการถ่ายท้าหรือจากแถบวีดิทัศน์แล้วบันทึกลงแผ่น
               เครื่องเล่นดีวีดี (DVD Player) เครื่องเล่นดีวีดี เป็นเครื่องเล่นแผ่นดีวีดีระบบดิจิทัลเพื่อเสนอภาพนิ่งภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ และเสียงเพื่อเสนอภาพบนจอโทรทัศน์ในลักษณะเดียวกับแผ่นวีซีดี แต่จะให้คุณภาพของภาพและเสียงดีกว่ามากและแตกต่างกันตรงที่สามารถบรรจุข้อมูลได้ตั้งแต่ 4.7 – 17 จิกะไบต์
               เครื่องวิดีโอโพรเจ็กเตอร์ (Video Projector) เป็นอุปกรณ์ที่เป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดสัญญาณจากอุปกรณ์หลายประเภท เช่น เครื่องวิชวลไลเซอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ และเครื่องเล่นดีวีดีให้ปรากฏเป็นภาพขนาดใหญ่บนจอภาพ
               เครื่องวิดีโอโพรเจ็กเตอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันจะเป็นเครื่องแอลซีดีและเครื่องดีแอลพี

                                     

               เครื่องเสียง ( Amplifiers ) เสียงมีจุดก้าเนิดจากสิ่งต่างๆ ที่เราสามารถรับฟัง ได้ในระยะทางที่จ้ากัด จึงมีความจะเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีระบบขยายเสียง โดยหลักการเปลี่ยนพลังงาน เสียงทีมีความถี่ 20 - 20000 Hertz (Hz) ให้อยู่ในรูปของ ่สัญญาณไฟฟ้า แล้วน้าเอาพลังงานไฟฟ้า ที่ได้ไปท้าการขยาย ให้มีพลังมากขึ้นตามความต้องการ แล้วจึงน้าพลังงานไฟฟ้า ที่ได้ผ่านการขยายแล้วมาแปลงเสียงพลังงานเสียง เช่นเดิม จนท้าให้ผู้ที่อยู่ในระยะทางที่ไกลขึ้นได้รับฟังเสียงดังกล่าว
16. สื่ออุปกรณ์ (ต่อ)องค์ประกอบของระบบขยายเสียง ระบบขยายเสียง ประกอบด้วยส่วนส้าคัญ 3 ส่วน คือ * ภาคสัญญาณเข้า (Input Signal) * ภาคขยายสัญญาณ (Amplifier) * ภาคสัญญาณออก (Output Signal)




               ภาคสัญญาณเข้า (Input Signal) เป็นภาคที่ท้าหน้าที่ เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นคลื่นไฟฟ้าความถี่เสียง เช่น ไมโครโฟน หรืออีกนัยหนึ่งภาคสัญญาณเข้าเป็นอุปกรณ์ประเภทเครื่องเสียง เช่น เครื่องเล่นแผ่นเสียงเครื่องเล่นคอมแพกดิสก์ เครื่องเล่นเทปคาสเซส เป็นต้น
               ภาคขยายสัญญาณ (Amplifier) เป็นภาคที่รับสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียง จากภาคสัญญาณเข้า แล้วน้าไปขยายสัญญาณให้มีความแรงขึ้นเพื่อเตรียมส่งต่อไปยัง ภาคสัญญาณออก
               ภาคสัญญาณออก (Output Signal) เป็นภาคที่ท้าหน้าที่รับสัญญาณไฟฟ้า ความถี่เสียงที่ได้รับการขยายจากภาคขยายสัญญาณ (Amplifier) น้ามาเปลี่ยนเป็นคลื่นเสียง อุปกรณ์ ของภาคสัญญาณออก ได้แก่ ล้าโพง

สรุป 

             สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์ หรือ โสตทัศนูปกรณ์มีหน้าที่หลัก คือ ฉายเนื้อหาที่เป็นภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น และขยายเสียงให้ดังขึ้น ได้แก่ เครื่องฉาย เครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณ และเครื่องเสียงอุปกรณ์แปลงสัญญาณ และเครื่องเสียง ในฐานะที่เราก้าลังจะเป็นครูในอนาคตอันใกล้ เราควรจะศึกษาการใช้งาน เพื่อที่จะน้าไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนภายในห้องเรียนของเรา